0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,การฝึกเส้น Black ink

ในการฝึกตัดเส้นงานการ์ตูน แรกเริ่มของการลงเส้นนักเรียนมักจะเกิดปัญหามือไม่นิ่ง เส้นสั่น บางคนที่ใช้ปากกาหมึกซึมหัวสักหลาดตัดเส้น ก็จะเกิดปัญหาถึงขึ้นหัวปากกาแตกหักเลยก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแต่สืบเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญและน้ำหนักมือของผู้ฝึก

ณ จุดนี้คุณครูก็เลยผ่านปากกาเบเบประเภทหมึกซึมหัวสักหลาดอะไรพวกนี้ไปเลยนะคะ เพราะถ้าจะฝึกแล้วเราควรต้องฝึกกันอย่างมืออาชีพ ที่ใช้พู่กันและปากกา G-Pen กันเป็นหลัก

น้องๆ หลายคนมักเกิดคำถามว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นถึงทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องฝึกอะไรมาก” < ตรงนี้ของถามกลับว่า “แน่ใจเหรอคะว่าคนญี่ปุ่นไม่ได้ฝึก??”

ดังที่ต่างก็รู้กันดีอยู่ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใช้พู่กันคัดลายมือกันมาตั้งแต่กำเนิด ตรงนี้ถือเป็นโชคดีอย่างหนึ่งที่ความเชี่ยวชาญถูกฝึกฝนมาด้วยวิถีการดำรงชีวิตปกติ ดังนั้นกับนักวาดดาร์ตูนญี่ปุ่นที่มีพื้นฐานทางศิลปะมาอยู่บ้างแล้ว เมื่อมาจับปากกาตัดเส้นจึงเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นเป็นเท่าตัวจนเหมือนแทบจะไม่ได้ฝึกอะไรใหม่เลย เรื่องมันก็ง่ายๆ เท่านี้แหล่ะค่ะ

ทีนี้กับคนบางคนที่เพิ่งจะมาจับ G Pen ตัดเส้นๆ ใหม่ๆ แล้วใช้ไม่ได้ ใช้ไม่คล่อง ปัญหามันก็เกิดมาจากการขาดความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์ของเรานั่นเอง ซึ่งปัญหาตรงนี้สามารถแก้ได้ง่ายๆ ด้วยการ ‘ฝึกเส้น’ ค่ะ

อ่านต่อ
0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,วิธีการวาดมือ

‘มือ’ นับเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจลำดับแรกๆ ของคนวาดรูป ไม่ว่าจะเป็นการวาดการ์ตูนญี่ปุ่น การวาดภาพเหมือน โดยส่วนใหญ่แล้ว ‘มือ’ มักจะเป็นอวัยวะที่ Artist ผู้เริ่มต้นส่วนใหญ่มักให้ความสนใจว่า ‘วาดมือต้องวาดอย่างไร’

เวลาไปสอนน้องๆ ตามโรงเรียนต่างๆ สิ่งที่ถูกถามและขอให้วาดให้ดูมากที่สุดก็คือ ‘มือ’ ส่วนใหญ่น้องๆ ที่ฝึกวาดการ์ตูนมักมีปัญหาในการวาดมือไม่ได้ และมักจะใช้วิธีหลบเลี่ยงปัญหาด้วยการวาดกระโปรงบานๆ ออกมาปิดมือ หรือไขว้มือไว้ด้านหลังเพื่อปกปิดไม่ต้องวาดมือ

วิธีการนั้นถือเป็นวิธีการที่ผิดพลาดเมื่อเราเลือกที่จะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับปัญหา เพราะจนถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีทางที่ชั่วชีวิตเราจะวาดรูปตัวละครของการ์ตูนอยู่ในคาแร็กเตอร์แบบเดียวคือเอามือไขว้หลัง หรือเอากระโปรงมาปิดมือ มันไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะเป็นนักเขียนการ์ตูนหรือ Illustrator โดยวาดตัวละครได้เพียงแค่แอคติ้งเดียว

วิธีวาดมือแบบการ์ตูนญี่ปุ่น

โดยพื้นฐานของการฝึกวาดมือนั้น เช่นเดียวกับพื้นฐานของการฝึกวาดเท้า คือควรเริ่มต้นจากกระดูกของมือ เพื่อที่คนวาดจะได้เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของมือโดยรวมทั้งหมด

อ่านต่อ

 Download ตัวอย่างบทเรียน

0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,วิธีการวาดเท้า

แพลนบทเรียนต่อจากสกรีนโทนคราวที่แล้ว ความจริงตั้งใจว่าจะสอนวิธีการลงสกรีนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ค่ะ  แต่บังเอิญว่าแบบ… พาุยุพัดขึ้นฝั่ง มรสุมซัดเข้ามาที่คอมพิวเตอร์เครื่องที่เตรียมบทความเอาไว้สำหรับสอน  หรือสรุปง่ายๆ ก็คือคอมเจ๊งค่ะ!!  ก็เลยทำให้เว็บล่าช้า และเนื้อหาเกี่ยวกับสกรีนโทน รวมถึงเนื้อหาบางส่วนที่อยู้ในคอมพ์เครื่องนั้นยังไม่สามารถนำมาสอนได้

แต่แก้เครียดค่ะ… เป็นการแก้เครียดทั้งกับคนสอนและแก้เซ็งระหว่างรอทั้งกับคนเรียนด้วย  วันนี้คุณครูเลยจะมาสอนเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับ วิธีการวาดเท้า กันนะคะ

เวลาที่ไปสอนน้องๆ ตามโรงเรียนต่างๆ  ความสนใจในอันดับแรกๆ ที่น้องๆ มักมาสอบถามกันเลยก็คือ

1.การ์ตูนญี่ปุ่น วาดมืออย่างไร

2.การ์ตูนญี่ปุ่น วาดเท้าอย่างไร

เกี่ยวกับการวาดมือ ข้อมูลอยู่ในคอมพ์เครื่องที่เจ๊งอ่ะนะคะ ก็รอกันไปก่อน (555+) แต่เกี่ยวกับการวาดเท้าในสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่นหรือ วาดเท้าตัวละครแบบมังกะนั้น ก็เรียนกันในวันนี้เลยก็แล้วกันนะคะ

วิธีการวาดเท้า

ดังที่ก็รู้กันดีอยู่ว่าน้องๆ หลายคนมักจะไม่้ค่อยแม่นสัดส่วน (ไม่ได้ฝึก Anataomy ) ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถวาดอวัยวะในบางส่วนของร่างกายคนได้  ซึ่งแน่นอนว่าการวาดเท้าของคนในสไตล์การ์ตูนมังกะนั้น…

อ่านต่อ


Download ตัวอย่างบทเรียน

0

เรียนรู้สกรีนโทนเพื่อตกแต่งต้นฉบับการ์ตูนญี่ปุ่น

น้องๆ ที่ชอบวาดการ์ตูนญี่ปุ่นหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘สกรีนโทน’ (Screen Tone) กันอยู่บ้างนะคะ บางคนอาจรู้ดีว่ามันคืออะไร หรือบางคนก็แค่ได้ยินเขาเรียกกัน แต่ไม่รู้จักว่ามันคืออะไร และใช้งานอย่างไรในงานการ์ตูนญี่ปุ่น สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Screen Tone คืออะไรนะคะ คุณครูเคยเขียนถึงไว้บ้างแล้วในบทความเกี่ยวกับลายสกรีนที่ แจกฟรีสกรีนโทน น้องๆ ก็สามารถติดตามไปอ่านรายละเอียดกันได้นะคะ ที่ สกรีนโทนคืออะไร

สำหรับบทเรียนวาดการ์ตูนของ Ren Ren วันนี้เราจะมาพูดกันถึง สกรีนโทนที่ใช้ตกแต่งต้นฉบับของงานการ์ตูนญี่ปุ่น กันค่ะ

อ่านต่อ

0

การวาดการ์ตูนญี่ปุ่น… มุมที่มักถูกมองข้าม

เปิด Article แรกของคุณครูเซเรน (จริงๆ เรียกแค่พี่เซเรน หรือพี่เรนก็ได้ค่ะ อิ อิ) ตอนแรกตั้งใจว่าจะเริ่มสอนหลักๆ เลย แต่เกรงว่าน้องๆ จะตั้งตัวไม่ติด (เพราะหลักสูตรของ Ren Ren ค่อนข้างโหดดังที่ก็พอจะรู้กันอยู่) เลยเปลี่ยนใจเป็นเขียนบทความเบื้องต้นให้อ่านกันก่อนดีกว่าเน๊าะ

หัวข้อที่ตั้งใจจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือ ‘การวาดการ์ตูนญี่ปุ่น… มุมที่มักถูกมองข้าม’ ซึ่งมุมที่ว่านี้น้องๆ ที่ฝึกวาดการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยตนเองส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ความสำคัญ มองข้ามไป ไม่ได้หยิบมาฝึกมาฝน ทั้งๆ ที่มันเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการวาดรูป… หมายรวมถึงทุกประเภทนะคะ ทั้งรูปวาดธรรมดาๆ ทั้งรูปวาดการ์ตูน ทั้งการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่ง ตรงนี้รวมอยู่ในพื้นฐานเดียวกันอันเป็น ‘พื้นฐานของการวาดรูป’ ทั้งสิ้นค่ะ

โดยส่วนใหญ่แล้ว น้องที่ชอบวาดการ์ตูนมักจะมีจุดเริ่มมาจากการ์ตูน(และเกม)ที่ชื่นชอบ เมื่อชอบมากๆ ก็อยากที่จะวาดตาม ฝึกตาม แล้วก็เริ่มต้นโดยการนำภาพของนักวาดที่เราชื่นชอบมาเป็นแบบอย่างแล้ววาดตาม เมื่อวาดตามมากๆ เข้า หลายๆ ภาพเข้า ความเชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ทำให้เราสามารถวาดรูปได้ วาดการ์ตูนออกมาได้ และเมื่อฝึกมากเข้าๆ ก็จะเกิดเป็นภาพการ์ตูนในสไตล์ของตัวเองขึ้นมาโดยไม่ได้ไปร่ำไปเรียนจากที่ไหน
แต่ด้วยเพราะการฝึกฝนแบบนี้ หลายคนจะเกิดปัญหาง่ายๆ กับตนเองขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง เป็นต้นว่า วาดมือไม่เป็น วาดเท้าไม่ได้ วาดตัวเบี้ยวบ้าง หน้าเบี้ยวบ้าง และอีกมากมายต่างๆ นาๆ สิ่งที่เราเห็นว่าคนอื่นทำได้ วาดได้อย่างง่ายๆ แต่ทำไมเราถึงทำไมได้ พยายามแล้วพยายามอีกก็วาดเละ วาดเสีย ปัญหาในจุดนี้เกิดขึ้นมาจาก ‘พื้นฐานทางศิลปะที่แตกต่างกัน’ นั่นเอง

และนี่ก็คือคำตอบเหมือนกันค่ะ ว่าทำไมหลักสูตรของ Ren Ren ถึงโหดร้ายผิดกับหลักสูตรวาดการ์ตูนทั่วไปดีจังเลย แถมยังรับนักเรียนแบบไม่กลัวจนโดยระบุว่าต้อง อายุ 14 ขึ้นไป และคลาสเรียนละ 5 คนแบบขาดได้ห้ามมีเกิน มันเป็นเพราะเรื่องง่ายๆ เลยค่ะว่าผู้ปกครองทั่วไปมักจะเข้าใจว่า การ์ตูน = เด็ก จึงมักจะส่งน้องๆ หนูๆ อายุ 6-7 ขวบมาเรียนวาดการ์ตูนกันมากเสียเป็นส่วนใหญ่… (**คือสำหรับน้องๆ 6-7 ปีประมาณนั้นนะคะ คุณครูขอแนะนำให้เรียนคลาส ‘ศิลปะเด็ก’ ดีกว่าค่ะ มันสนุก ไม่น่าเบื่อ ไม่โหดร้าย แค่ Ren Ren เราไม่เปิดสอนก็เท่านั้นเอง 555+ )

จริงๆ แล้วสำหรับเด็กอาร์ตสายการ์ตูนจะรู้เป็นอย่างดีทีเดียวว่าถึงแม้ การ์ตูน = เด็ก แต่ การวาดการ์ตูน # เด็ก และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับศิลปะเด็ก ซึ่งหากจะเรียนให้รู้ลึกลงไปในศาสตร์แขนงนี้อย่างแท้จริงแล้ว จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเรียนพื้นฐานทางศิลปะ ทั้งในเรื่องของ เส้น (ลายเส้น), Anatomy (สัดส่วน), Perspective (มุมมอง) หรือ แม้กระทั่งแสงและเงา ซึ่งในบทเรียนเหล่านี้มีความยากในคนละระดับผิดกับศิลปะเด็ก ดังนั้นในหลักสูตรการวาดการ์ตูนญี่ปุ่นของ Ren Ren จึงระบุอายุของนักเรียนว่าจะต้องมีอายุ 14 ปีขึ้นไป ซึ่งการรับเพียงแค่คลาสละ 5 คนเท่านั้น ก็เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถดูแล แนะนำ และสอนเด็กได้ครบทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ.