0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,การฝึกเส้น Black ink

ในการฝึกตัดเส้นงานการ์ตูน แรกเริ่มของการลงเส้นนักเรียนมักจะเกิดปัญหามือไม่นิ่ง เส้นสั่น บางคนที่ใช้ปากกาหมึกซึมหัวสักหลาดตัดเส้น ก็จะเกิดปัญหาถึงขึ้นหัวปากกาแตกหักเลยก็มี ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแต่สืบเนื่องมาจากความเชี่ยวชาญและน้ำหนักมือของผู้ฝึก

ณ จุดนี้คุณครูก็เลยผ่านปากกาเบเบประเภทหมึกซึมหัวสักหลาดอะไรพวกนี้ไปเลยนะคะ เพราะถ้าจะฝึกแล้วเราควรต้องฝึกกันอย่างมืออาชีพ ที่ใช้พู่กันและปากกา G-Pen กันเป็นหลัก

น้องๆ หลายคนมักเกิดคำถามว่า “ทำไมคนญี่ปุ่นถึงทำได้ง่ายๆ ไม่ต้องฝึกอะไรมาก” < ตรงนี้ของถามกลับว่า “แน่ใจเหรอคะว่าคนญี่ปุ่นไม่ได้ฝึก??”

ดังที่ต่างก็รู้กันดีอยู่ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใช้พู่กันคัดลายมือกันมาตั้งแต่กำเนิด ตรงนี้ถือเป็นโชคดีอย่างหนึ่งที่ความเชี่ยวชาญถูกฝึกฝนมาด้วยวิถีการดำรงชีวิตปกติ ดังนั้นกับนักวาดดาร์ตูนญี่ปุ่นที่มีพื้นฐานทางศิลปะมาอยู่บ้างแล้ว เมื่อมาจับปากกาตัดเส้นจึงเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นเป็นเท่าตัวจนเหมือนแทบจะไม่ได้ฝึกอะไรใหม่เลย เรื่องมันก็ง่ายๆ เท่านี้แหล่ะค่ะ

ทีนี้กับคนบางคนที่เพิ่งจะมาจับ G Pen ตัดเส้นๆ ใหม่ๆ แล้วใช้ไม่ได้ ใช้ไม่คล่อง ปัญหามันก็เกิดมาจากการขาดความเชี่ยวชาญในการใช้อุปกรณ์ของเรานั่นเอง ซึ่งปัญหาตรงนี้สามารถแก้ได้ง่ายๆ ด้วยการ ‘ฝึกเส้น’ ค่ะ

อ่านต่อ
0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,วิธีการวาดมือ

‘มือ’ นับเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจลำดับแรกๆ ของคนวาดรูป ไม่ว่าจะเป็นการวาดการ์ตูนญี่ปุ่น การวาดภาพเหมือน โดยส่วนใหญ่แล้ว ‘มือ’ มักจะเป็นอวัยวะที่ Artist ผู้เริ่มต้นส่วนใหญ่มักให้ความสนใจว่า ‘วาดมือต้องวาดอย่างไร’

เวลาไปสอนน้องๆ ตามโรงเรียนต่างๆ สิ่งที่ถูกถามและขอให้วาดให้ดูมากที่สุดก็คือ ‘มือ’ ส่วนใหญ่น้องๆ ที่ฝึกวาดการ์ตูนมักมีปัญหาในการวาดมือไม่ได้ และมักจะใช้วิธีหลบเลี่ยงปัญหาด้วยการวาดกระโปรงบานๆ ออกมาปิดมือ หรือไขว้มือไว้ด้านหลังเพื่อปกปิดไม่ต้องวาดมือ

วิธีการนั้นถือเป็นวิธีการที่ผิดพลาดเมื่อเราเลือกที่จะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากับปัญหา เพราะจนถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีทางที่ชั่วชีวิตเราจะวาดรูปตัวละครของการ์ตูนอยู่ในคาแร็กเตอร์แบบเดียวคือเอามือไขว้หลัง หรือเอากระโปรงมาปิดมือ มันไม่มีทางเป็นไปได้ที่เราจะเป็นนักเขียนการ์ตูนหรือ Illustrator โดยวาดตัวละครได้เพียงแค่แอคติ้งเดียว

วิธีวาดมือแบบการ์ตูนญี่ปุ่น

โดยพื้นฐานของการฝึกวาดมือนั้น เช่นเดียวกับพื้นฐานของการฝึกวาดเท้า คือควรเริ่มต้นจากกระดูกของมือ เพื่อที่คนวาดจะได้เข้าใจโครงสร้างและการทำงานของมือโดยรวมทั้งหมด

อ่านต่อ

 Download ตัวอย่างบทเรียน

0

เรียนวาดการ์ตูนญี่ปุ่น,วิธีการวาดเท้า

แพลนบทเรียนต่อจากสกรีนโทนคราวที่แล้ว ความจริงตั้งใจว่าจะสอนวิธีการลงสกรีนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ค่ะ  แต่บังเอิญว่าแบบ… พาุยุพัดขึ้นฝั่ง มรสุมซัดเข้ามาที่คอมพิวเตอร์เครื่องที่เตรียมบทความเอาไว้สำหรับสอน  หรือสรุปง่ายๆ ก็คือคอมเจ๊งค่ะ!!  ก็เลยทำให้เว็บล่าช้า และเนื้อหาเกี่ยวกับสกรีนโทน รวมถึงเนื้อหาบางส่วนที่อยู้ในคอมพ์เครื่องนั้นยังไม่สามารถนำมาสอนได้

แต่แก้เครียดค่ะ… เป็นการแก้เครียดทั้งกับคนสอนและแก้เซ็งระหว่างรอทั้งกับคนเรียนด้วย  วันนี้คุณครูเลยจะมาสอนเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับ วิธีการวาดเท้า กันนะคะ

เวลาที่ไปสอนน้องๆ ตามโรงเรียนต่างๆ  ความสนใจในอันดับแรกๆ ที่น้องๆ มักมาสอบถามกันเลยก็คือ

1.การ์ตูนญี่ปุ่น วาดมืออย่างไร

2.การ์ตูนญี่ปุ่น วาดเท้าอย่างไร

เกี่ยวกับการวาดมือ ข้อมูลอยู่ในคอมพ์เครื่องที่เจ๊งอ่ะนะคะ ก็รอกันไปก่อน (555+) แต่เกี่ยวกับการวาดเท้าในสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่นหรือ วาดเท้าตัวละครแบบมังกะนั้น ก็เรียนกันในวันนี้เลยก็แล้วกันนะคะ

วิธีการวาดเท้า

ดังที่ก็รู้กันดีอยู่ว่าน้องๆ หลายคนมักจะไม่้ค่อยแม่นสัดส่วน (ไม่ได้ฝึก Anataomy ) ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถวาดอวัยวะในบางส่วนของร่างกายคนได้  ซึ่งแน่นอนว่าการวาดเท้าของคนในสไตล์การ์ตูนมังกะนั้น…

อ่านต่อ


Download ตัวอย่างบทเรียน

0

เรียนรู้สกรีนโทนเพื่อตกแต่งต้นฉบับการ์ตูนญี่ปุ่น

น้องๆ ที่ชอบวาดการ์ตูนญี่ปุ่นหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘สกรีนโทน’ (Screen Tone) กันอยู่บ้างนะคะ บางคนอาจรู้ดีว่ามันคืออะไร หรือบางคนก็แค่ได้ยินเขาเรียกกัน แต่ไม่รู้จักว่ามันคืออะไร และใช้งานอย่างไรในงานการ์ตูนญี่ปุ่น สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Screen Tone คืออะไรนะคะ คุณครูเคยเขียนถึงไว้บ้างแล้วในบทความเกี่ยวกับลายสกรีนที่ แจกฟรีสกรีนโทน น้องๆ ก็สามารถติดตามไปอ่านรายละเอียดกันได้นะคะ ที่ สกรีนโทนคืออะไร

สำหรับบทเรียนวาดการ์ตูนของ Ren Ren วันนี้เราจะมาพูดกันถึง สกรีนโทนที่ใช้ตกแต่งต้นฉบับของงานการ์ตูนญี่ปุ่น กันค่ะ

อ่านต่อ

0

การวาดการ์ตูนญี่ปุ่น… มุมที่มักถูกมองข้าม

เปิด Article แรกของคุณครูเซเรน (จริงๆ เรียกแค่พี่เซเรน หรือพี่เรนก็ได้ค่ะ อิ อิ) ตอนแรกตั้งใจว่าจะเริ่มสอนหลักๆ เลย แต่เกรงว่าน้องๆ จะตั้งตัวไม่ติด (เพราะหลักสูตรของ Ren Ren ค่อนข้างโหดดังที่ก็พอจะรู้กันอยู่) เลยเปลี่ยนใจเป็นเขียนบทความเบื้องต้นให้อ่านกันก่อนดีกว่าเน๊าะ

หัวข้อที่ตั้งใจจะกล่าวถึงในวันนี้ก็คือ ‘การวาดการ์ตูนญี่ปุ่น… มุมที่มักถูกมองข้าม’ ซึ่งมุมที่ว่านี้น้องๆ ที่ฝึกวาดการ์ตูนญี่ปุ่นด้วยตนเองส่วนใหญ่มักจะไม่ให้ความสำคัญ มองข้ามไป ไม่ได้หยิบมาฝึกมาฝน ทั้งๆ ที่มันเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากในการวาดรูป… หมายรวมถึงทุกประเภทนะคะ ทั้งรูปวาดธรรมดาๆ ทั้งรูปวาดการ์ตูน ทั้งการ์ตูนญี่ปุ่น การ์ตูนฝรั่ง ตรงนี้รวมอยู่ในพื้นฐานเดียวกันอันเป็น ‘พื้นฐานของการวาดรูป’ ทั้งสิ้นค่ะ

โดยส่วนใหญ่แล้ว น้องที่ชอบวาดการ์ตูนมักจะมีจุดเริ่มมาจากการ์ตูน(และเกม)ที่ชื่นชอบ เมื่อชอบมากๆ ก็อยากที่จะวาดตาม ฝึกตาม แล้วก็เริ่มต้นโดยการนำภาพของนักวาดที่เราชื่นชอบมาเป็นแบบอย่างแล้ววาดตาม เมื่อวาดตามมากๆ เข้า หลายๆ ภาพเข้า ความเชี่ยวชาญจะเกิดขึ้นจากการฝึกฝนโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็ทำให้เราสามารถวาดรูปได้ วาดการ์ตูนออกมาได้ และเมื่อฝึกมากเข้าๆ ก็จะเกิดเป็นภาพการ์ตูนในสไตล์ของตัวเองขึ้นมาโดยไม่ได้ไปร่ำไปเรียนจากที่ไหน
แต่ด้วยเพราะการฝึกฝนแบบนี้ หลายคนจะเกิดปัญหาง่ายๆ กับตนเองขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง เป็นต้นว่า วาดมือไม่เป็น วาดเท้าไม่ได้ วาดตัวเบี้ยวบ้าง หน้าเบี้ยวบ้าง และอีกมากมายต่างๆ นาๆ สิ่งที่เราเห็นว่าคนอื่นทำได้ วาดได้อย่างง่ายๆ แต่ทำไมเราถึงทำไมได้ พยายามแล้วพยายามอีกก็วาดเละ วาดเสีย ปัญหาในจุดนี้เกิดขึ้นมาจาก ‘พื้นฐานทางศิลปะที่แตกต่างกัน’ นั่นเอง

และนี่ก็คือคำตอบเหมือนกันค่ะ ว่าทำไมหลักสูตรของ Ren Ren ถึงโหดร้ายผิดกับหลักสูตรวาดการ์ตูนทั่วไปดีจังเลย แถมยังรับนักเรียนแบบไม่กลัวจนโดยระบุว่าต้อง อายุ 14 ขึ้นไป และคลาสเรียนละ 5 คนแบบขาดได้ห้ามมีเกิน มันเป็นเพราะเรื่องง่ายๆ เลยค่ะว่าผู้ปกครองทั่วไปมักจะเข้าใจว่า การ์ตูน = เด็ก จึงมักจะส่งน้องๆ หนูๆ อายุ 6-7 ขวบมาเรียนวาดการ์ตูนกันมากเสียเป็นส่วนใหญ่… (**คือสำหรับน้องๆ 6-7 ปีประมาณนั้นนะคะ คุณครูขอแนะนำให้เรียนคลาส ‘ศิลปะเด็ก’ ดีกว่าค่ะ มันสนุก ไม่น่าเบื่อ ไม่โหดร้าย แค่ Ren Ren เราไม่เปิดสอนก็เท่านั้นเอง 555+ )

จริงๆ แล้วสำหรับเด็กอาร์ตสายการ์ตูนจะรู้เป็นอย่างดีทีเดียวว่าถึงแม้ การ์ตูน = เด็ก แต่ การวาดการ์ตูน # เด็ก และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับศิลปะเด็ก ซึ่งหากจะเรียนให้รู้ลึกลงไปในศาสตร์แขนงนี้อย่างแท้จริงแล้ว จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเรียนพื้นฐานทางศิลปะ ทั้งในเรื่องของ เส้น (ลายเส้น), Anatomy (สัดส่วน), Perspective (มุมมอง) หรือ แม้กระทั่งแสงและเงา ซึ่งในบทเรียนเหล่านี้มีความยากในคนละระดับผิดกับศิลปะเด็ก ดังนั้นในหลักสูตรการวาดการ์ตูนญี่ปุ่นของ Ren Ren จึงระบุอายุของนักเรียนว่าจะต้องมีอายุ 14 ปีขึ้นไป ซึ่งการรับเพียงแค่คลาสละ 5 คนเท่านั้น ก็เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถดูแล แนะนำ และสอนเด็กได้ครบทุกคนอย่างมีประสิทธิภาพ.

3

กิจกรรมเรนเรน ปี 2551 โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ

จันทร์หุ่นบำเพ็ญ  โรงเรียนที่มีขนาดพื้นที่กว้างขวางมากๆ ย่านห้วยขวาง  ข้างในร่มรื่น  มีสวนหย่อมที่สวยมากๆ ด้วยล่ะ

บริษัท เรนเรน จำกัด  ได้เข้าไปจัดกิจกรรมให้กับน้องๆ โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ มาเมื่อต้นเดือนกรกฏาคม 2551  ที่ผ่านมา  มีน้องๆ ให้ความสนใจกิจกรรมกันมากมาย

เลือกภาพมุมที่มีวิทยากรมาโชว์ค่ะ  แต่จริงๆ แล้วน้องๆ นั่งทำกิจกรรมกันอยู่เต็มห้องทีเดียว  หลักฐานคือภาพวาดของน้องๆ  ที่เอามาโชว์แค่บอร์ดเดียวนะคะ  แต่จริงๆ แล้วน้องๆ ส่งภาพกันมาร้อยกว่าภาพเลยละ

อัพภาพตัวอย่างของน้องจันทร์หุ่นฯ ให้ดูสักสองภาพใหญ่ๆ  ฝีมือน้องๆ ใช่ย่อยเลยนะ  งานนี้ได้ของรางวัลติดไม้ติดมือไปคนละเล็กๆ น้อยๆ ค่ะ

อัพภาพน้องจันทร์หุ่นแล้วต้องอัพภาพเด็กจันทร์หุ่นด้วย  ลืมถามชื่อ  น้องเก่งมากพกกระเป๋าสตางค์ทำเองมาอวดด้วย เลยต้องขอถ่ายภาพเป็นหลักฐานซะหน่อย

นี่ไง  กระเป๋าสตางค์ข้างล่างนี่  น้องทำเองจากกล่องเหล้าของพ่อเลยนะ

งานกิจกรรมผ่านไปด้วยดีค่ะ  งานนี้ เรนเรน ได้มอบของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ไว้ให้กับอาจารย์ ภาควิชาภาษาไทย ด้วยล่ะ

0

กิจกรรมปี 2550 ผดุงศิษย์พิทยา

มาโรงเรียนผดุงศิษย์นั้นแสนหนักใจ  เพราะน้องๆ ยังตัวเล็กๆ กันอยู่เลย  ก็เลยกลัวอยู่ว่าน้องๆ จะไม่ชอบกิจกรรมของเรา  ที่ไหนได้  น้องๆ ให้ความสนใจกับกิจกรรมอย่างล้นหลามชนิดวิทยากรไม่ได้ว่างกันเลยเชียว  งานนี้ พี่โกวิท  วิทยากรของเรา ทุ่มสุดตัว  สอนน้องๆ วาดภาพจนเป็นลมคาโต๊ะเลยล่ะ

น้องๆ ได้ของรางวัลติดไม้ติดมือไปคนละเล็กน้อย  มาดูผลงานวาดภาพของน้องๆ กันค่ะ

0

ภาพกิจกรรมปี 2550 สตรีวัดระฆัง

อันสตรีวัดระฆังนั้นหนามีภาพมากมายแต่หายหมด T_T คงเหลืออยู่ 4 ภาพ ไว้ปีนี้ (2551) ไปใหม่แล้วจะเก็บบรรยากาศมาใหม่ก็แล้วกันนะคะ

กาพแรก  น่านน้ำสตรีวัดระฆัง

วิทยากรจัดกิจกรรมสาธิตวาดภาพค่ะ

น้องๆ สนใจการวาดภาพมากมาย

ผลงานฝีมือน้องๆ โชว์เต็มบอร์ด

แจกของรางวัลที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ให้น้องที่ร่วมกิจกรรมวาดภาพ

0

กิจกรรมปี 2550 เบญจมราชาลัย

กิจกรรมโรงเรียนเบญจมราชาลัย ปี 2549-2550 ค่ะ ภาพอยู่โฟลเดอร์เดียวกัน เลยรวมภาพมาให้ชมนะคะ

งานที่จัดเป็นกิจกรรมของห้องสมุดโรงเรียนเบญจมราชาลัย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม ทางเรนเรน ได้ไปร่วมกิจกรรม มีการสาธิตวาดภาพให้กับน้องๆ ด้วยค่ะ

ก็มีแจกของที่ระลึกกันตามระเบียบ น้องๆ ได้ของรางวัลไปเยอะแยะ ยิ้มกันใหญ่

งานนี้ พี่ๆ ได้เชิญ พี่จุฑารัตน์ กิตติก้องนภา มาบรรยายเรื่อง “การอ่าน” ให้กับน้องๆ ชาวเบญจมราชาลัยด้วย ได้รับความสนใจจากน้องๆ อย่างล้นหลามเลยเชียว

ทางโรงเรียนมอบของรางวัลให้กับวิทยากรด้วย

สุดท้ายนี้ ปิดด้วยคลิปวิดีโอบรรยายของ คุณจุฑารัตน์ เรื่่อง “การอ่าน” นะคะ

หรือ คลิกที่นี่ ดูจอใหญ่